โรงพยาบาลหลวงพ่อคุูณ ปริสุทุโธ 
แผนกเวชระเบียนและประกันสุขภาพฯ

จุดมุ่งหมายของหน่วยงาน
 
 " ให้บริการเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาลของประชาชนตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

เป็นแหล่งข้อมูลเรื่องสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องและทันสมัย

ประสานงานเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการรักษาพยาบาลตามสิทธิ์ที่พึงมี และรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานที่พึงได้ "

 

  • หน้าที่ความรับผิดชอบ :

1. รวบรวมหลักฐาน ประสานงานและ ส่งเบิกค่ารักษาผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ข้าราชการตามโครงการผู้ป่วยนอกจ่ายตรง ข้าราชการผู้ป่วยในสังกัดกรมบัญชีกลาง ข้าราชการผู้ป่วยในสังกัดหน่วยราชการอื่น ๆ ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคมทั้งกรณีในเครือข่าย นอกเครือข่าย ฉุกเฉิน ผู้ประกันตนที่ป่วยจากการทำงาน ผู้ประสบภัยจากรถตามกฎหมาย พรบ.

2. เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิในการรักษาพยาบาลตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

3. ให้คำแนะนำปรึกษา แก่ผู้ที่มีปัญหาเรื่องสิทธิทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่

4. ขี้นทะเบียนผู้ป่วยเบิกได้จ่ายตรง

5. ขี้นทะเบียนผู้ป่วยสิทธิ์ว่าง (บัตรทอง) รับแจ้งและย้ายสถานบริการ

6. รับแจ้งบัตรหาย, พิมพ์บัตรให้ใหม่

7. ให้คำแนะนำและรวบรวมหลักฐานกรณีผู้ประสบภัยจากรถ

8. ให้คำแนะนำขั้นตอนการส่งตัวไปรักษาที่อื่น ประสานการส่งตรวจพิเศษ

  • อำนาจหน้าที่ของศูนย์ประกันสุขภาพ :

1. เป็นศูนย์ประสานงานในการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพ 5 ระบบ ประกอบด้วย การประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) การประกันสังคม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน และข้าราชการ

2. ส่งข้อมูลผู้ป่วยสิทธิว่างแก่กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและขึ้นทะเบียนผู้มีประกันสุขภาพให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย

3. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และร่วมประมาณการรายรับ–รายจ่ายประจำปี ของโรงพยาบาล

4. จัดทำระบบข้อมูลข่าวสาร และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่บุคลากรภายในโรงพยาบาล และประชาชนทั่วไปให้รับทราบถึง แนวทางในการดำเนินงาน และการรับบริการ

5.เป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนช่วยเหลือ และติดต่อประสานงานเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาล ระหว่างบุคลากรทั้งภายใน และภายนอกโรงพยาบาลและประชาชนทั่วไป

6. เป็นศูนย์กลางข้อมูล สถิติ ที่เกี่ยวข้องกับงานประกันสุขภาพ

7. ตรวจสอบการเรียกเก็บและการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยประกันสุขภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

8. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

  • งานทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ :

1. ขึ้นทะเบียนผู้มีประกันสุขภาพให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม

2. ตรวจสอบการมีสิทธิบัตรประกันสุขภาพประเภทต่าง ๆ ของผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยกรณีอุบัติเหตุ/ฉุกเฉินนอกเครือข่าย เรียก (claim code) หรือ แจ้งโรงพยาบาลในจังหวัดเดียวกัน ตรวจสอบสิทธิประกันสังคมกรณีรับไว้ในโรงพยาบาล และทำใบรับรองสิทธิของผู้ป่วยในต้นสังกัดกรมบัญชีกลาง โดยตรวจสอบจากฐานข้อมูลผู้มีสิทธิผ่านทางระบบ Internet

3. ดำเนินการรับคำร้องขอมีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โดยดำเนินการตรวจสอบข้อมูลผู้มีสิทธิ ออกบัตร และจ่ายบัตรแก่ผู้มีสิทธิในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาล สำหรับประชาชนที่อยู่นอกเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาล แนะนำให้รับที่หน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้าน

4. ให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวทางในการรับบริการทางการแพทย์ และสิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพทุกประเภท

5. ประสานงานกับหน่วยงานหรือโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง ในการยืนยันการรับรองการใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพทุกประเภท

  • งานสารสนเทศและสถิติ

1. พัฒนาและออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการเรียกเก็บเงินค่าบริการ ทางการแพทย์ การบันทึกค่าใช้จ่ายตาม DRG

2. บันทึกและตรวจสอบการลงรหัสโรค (ICD9 / ICD10) ให้ครบถ้วนถูกต้อง

3. ตรวจสอบผลการพิจารณาค่า DRGs กับรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

4. จัดทำข้อมูลสถิติและรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันสุขภาพทุกประเภท เช่น รายงานการขึ้นทะเบียน ผู้มีสิทธิ สถิติการให้บริการ รายรับ – รายจ่าย การให้บริการ ฯลฯ

5. วิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกับหน่วยงาน เพื่อพัฒนาการให้บริการใน ระบบประกันสุขภาพทุกประเภท

6. สนับสนุนงานด้านระบบสารสนเทศแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • งานการเงินและบัญชี :

1. ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องในการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ คิดค่าใช้จ่าย บันทึกรายการเรียกเก็บ

1.1 ต้นสังกัดข้าราชการกรมบัญชีกลาง ผู้ป่วยในตามโปรแกรม CSMBS

1.2 ต้นสังกัดข้าราชการกรมบัญชีกลางผู้ป่วยจ่ายตรงตามโปรแกรม CSCD

1.3 บันทึกการเรียกเก็บกรณีผู้ป่วยนอกบัตรทอง ฉุกเฉิน/อุบัติเหตุ หรือเรียกเก็บไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ (ในจังหวัด) นอกจังหวัดตามระบบ E- claim

1.4 บันทึกการเรียกเก็บกรณีผู้ป่วยในบัตรทอง ฉุกเฉิน/อุบัติเหตุ ตามระบบ E- claim

1.5 บันทึกการเรียกเก็บกรณีผู้ประสบภัยจากรถตามระบบ E- claim ของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และจัดทำเอกสารการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์

1.6 จัดทำเอกสารการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์จากกองทุนประกันสังคมกรณีนอกเครือข่ายฉุกเฉิน และกองทุนเงินทดแทน

2. ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลอื่น ที่เรียกเก็บ

  • งานรับและส่งต่อผู้ป่วย :

 

1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ในการอำนวยความสะดวก การรับและส่งต่อผู้ป่วย โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และสิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยประกันสุขภาพแต่ละประเภท

2. ให้ความรู้ คำแนะนำเรื่องสิทธิประโยชน์ ระเบียบการให้บริการแก่ผู้ป่วยและญาติ ในการรับส่งต่อผู้ป่วย (กรณีเกิดความไม่เข้าใจ)

 

 

 
 
" รักษาสิทธิของท่านคือบริการจากใจของพวกเราด้วยความรัก "
 

 

จุดมุ่งหมายของหน่วยงาน
 

 

 

" ให้บริการเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาลของประชาชนตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

เป็นแหล่งข้อมูลเรื่องสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องและทันสมัย

ประสานงานเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการรักษาพยาบาลตามสิทธิ์ที่พึงมี และรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานที่พึงได้ "

 

  • หน้าที่ความรับผิดชอบ :

1. รวบรวมหลักฐาน ประสานงานและ ส่งเบิกค่ารักษาผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ข้าราชการตามโครงการผู้ป่วยนอกจ่ายตรง ข้าราชการผู้ป่วยในสังกัดกรมบัญชีกลาง ข้าราชการผู้ป่วยในสังกัดหน่วยราชการอื่น ๆ ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคมทั้งกรณีในเครือข่าย นอกเครือข่าย ฉุกเฉิน ผู้ประกันตนที่ป่วยจากการทำงาน ผู้ประสบภัยจากรถตามกฎหมาย พรบ.

2. เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิในการรักษาพยาบาลตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

3. ให้คำแนะนำปรึกษา แก่ผู้ที่มีปัญหาเรื่องสิทธิทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่

4. ขี้นทะเบียนผู้ป่วยเบิกได้จ่ายตรง

5. ขี้นทะเบียนผู้ป่วยสิทธิ์ว่าง (บัตรทอง) รับแจ้งและย้ายสถานบริการ

6. รับแจ้งบัตรหาย, พิมพ์บัตรให้ใหม่

7. ให้คำแนะนำและรวบรวมหลักฐานกรณีผู้ประสบภัยจากรถ

8. ให้คำแนะนำขั้นตอนการส่งตัวไปรักษาที่อื่น ประสานการส่งตรวจพิเศษ

  • อำนาจหน้าที่ของศูนย์ประกันสุขภาพ :

1. เป็นศูนย์ประสานงานในการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพ 5 ระบบ ประกอบด้วย การประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) การประกันสังคม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน และข้าราชการ

2. ส่งข้อมูลผู้ป่วยสิทธิว่างแก่กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและขึ้นทะเบียนผู้มีประกันสุขภาพให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย

3. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และร่วมประมาณการรายรับ–รายจ่ายประจำปี ของโรงพยาบาล

4. จัดทำระบบข้อมูลข่าวสาร และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่บุคลากรภายในโรงพยาบาล และประชาชนทั่วไปให้รับทราบถึง แนวทางในการดำเนินงาน และการรับบริการ

5.เป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนช่วยเหลือ และติดต่อประสานงานเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาล ระหว่างบุคลากรทั้งภายใน และภายนอกโรงพยาบาลและประชาชนทั่วไป

6. เป็นศูนย์กลางข้อมูล สถิติ ที่เกี่ยวข้องกับงานประกันสุขภาพ

7. ตรวจสอบการเรียกเก็บและการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยประกันสุขภาพระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

8. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

  • งานทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ :

1. ขึ้นทะเบียนผู้มีประกันสุขภาพให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม

2. ตรวจสอบการมีสิทธิบัตรประกันสุขภาพประเภทต่าง ๆ ของผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยกรณีอุบัติเหตุ/ฉุกเฉินนอกเครือข่าย เรียก (claim code) หรือ แจ้งโรงพยาบาลในจังหวัดเดียวกัน ตรวจสอบสิทธิประกันสังคมกรณีรับไว้ในโรงพยาบาล และทำใบรับรองสิทธิของผู้ป่วยในต้นสังกัดกรมบัญชีกลาง โดยตรวจสอบจากฐานข้อมูลผู้มีสิทธิผ่านทางระบบ Internet

3. ดำเนินการรับคำร้องขอมีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โดยดำเนินการตรวจสอบข้อมูลผู้มีสิทธิ ออกบัตร และจ่ายบัตรแก่ผู้มีสิทธิในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาล สำหรับประชาชนที่อยู่นอกเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาล แนะนำให้รับที่หน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้าน

4. ให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวทางในการรับบริการทางการแพทย์ และสิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพทุกประเภท

5. ประสานงานกับหน่วยงานหรือโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง ในการยืนยันการรับรองการใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพทุกประเภท

  • งานสารสนเทศและสถิติ

1. พัฒนาและออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการเรียกเก็บเงินค่าบริการ ทางการแพทย์ การบันทึกค่าใช้จ่ายตาม DRG

2. บันทึกและตรวจสอบการลงรหัสโรค (ICD9 / ICD10) ให้ครบถ้วนถูกต้อง

3. ตรวจสอบผลการพิจารณาค่า DRGs กับรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

4. จัดทำข้อมูลสถิติและรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกันสุขภาพทุกประเภท เช่น รายงานการขึ้นทะเบียน ผู้มีสิทธิ สถิติการให้บริการ รายรับ – รายจ่าย การให้บริการ ฯลฯ

5. วิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกับหน่วยงาน เพื่อพัฒนาการให้บริการใน ระบบประกันสุขภาพทุกประเภท

6. สนับสนุนงานด้านระบบสารสนเทศแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • งานการเงินและบัญชี :

1. ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องในการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ คิดค่าใช้จ่าย บันทึกรายการเรียกเก็บ

1.1 ต้นสังกัดข้าราชการกรมบัญชีกลาง ผู้ป่วยในตามโปรแกรม CSMBS

1.2 ต้นสังกัดข้าราชการกรมบัญชีกลางผู้ป่วยจ่ายตรงตามโปรแกรม CSCD

1.3 บันทึกการเรียกเก็บกรณีผู้ป่วยนอกบัตรทอง ฉุกเฉิน/อุบัติเหตุ หรือเรียกเก็บไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ (ในจังหวัด) นอกจังหวัดตามระบบ E- claim

1.4 บันทึกการเรียกเก็บกรณีผู้ป่วยในบัตรทอง ฉุกเฉิน/อุบัติเหตุ ตามระบบ E- claim

1.5 บันทึกการเรียกเก็บกรณีผู้ประสบภัยจากรถตามระบบ E- claim ของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และจัดทำเอกสารการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์

1.6 จัดทำเอกสารการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์จากกองทุนประกันสังคมกรณีนอกเครือข่ายฉุกเฉิน และกองทุนเงินทดแทน

2. ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลอื่น ที่เรียกเก็บ

  • งานรับและส่งต่อผู้ป่วย :

 

1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ในการอำนวยความสะดวก การรับและส่งต่อผู้ป่วย โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และสิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยประกันสุขภาพแต่ละประเภท

2. ให้ความรู้ คำแนะนำเรื่องสิทธิประโยชน์ ระเบียบการให้บริการแก่ผู้ป่วยและญาติ ในการรับส่งต่อผู้ป่วย (กรณีเกิดความไม่เข้าใจ)

 

 

 
 
" รักษาสิทธิของท่านคือบริการจากใจของพวกเราด้วยความรัก "
 

ขั้นตอนการเข้ารับบริการ

ผู้ป่วยใหม่ และผู้ป่วยที่ทำบัตรหาย

1. ติดต่อพยาบาลคัดกรองและรับใบคัดกรองเพื่อแยกประเภทผู้ป่วย

2. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มที่โต๊ะหน้าห้องบัตรชั้น 1

3. นำเอกสารตามข้อ 1และ 2 พร้อมบัตรประชาชน ยื่นที่ห้องบัตร รับบัตรคิว

4. นำใบคัดกรองติดต่อพยาบาลที่หน้าห้องตรวจ

5. รอรับการตรวจตามลำดับบัตรคิว หน้าห้องตรวจ

 

ผู้ป่วยเก่า

1. ติดต่อพยาบาลคัดกรองและรับใบคัดกรองเพื่อแยกประเภทผู้ป่วย

2. นำบัตรประจำตัวคนไข้และใบคัดกรองยื่นที่ห้องบัตร หรือกดรับบัตรคิวที่ตู้ Kios รับบัตรคิว

3. นำใบคัดกรองติดต่อพยาบาลที่หน้าห้องตรวจ

4. รอรับการตรวจตามลำดับบัตรคิว หน้าห้องตรวจ

 

ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

1. ติดต่อพยาบาลคัดกรองเพื่อแยกประเภทผู้ป่วย

2. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม

3. รับบัตรคิว

4. รอเรียกตามลำดับบัตรคิว

5. รอรับการตรวจหน้าห้องตรวจ

กรณีฉุกเฉินจะได้รับการตรวจรักษาก่อน

 

 

คำแนะนำ

1.เพื่อประโยชน์ในการติดตามประวัติการรักษาของท่าน กรุณานำบัตรประจำตัวคนไข้ และบัตรประชาชนมาทุกครั้งที่ติดต่อกับโรงพยาบาล

2.ถ้าท่านมีบัตรเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาล เช่น บัตรประกันสุขภาพ, บัตรประกันสังคม,

บัตรผู้พิการ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่

 

ผู้ป่วยใหม่ และผู้ป่วยที่ทำบัตรหาย

1. ติดต่อพยาบาลคัดกรองและรับใบคัดกรองเพื่อแยกประเภทผู้ป่วย

2. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มที่โต๊ะหน้าห้องบัตรชั้น 1

3. นำเอกสารตามข้อ 1และ 2 พร้อมบัตรประชาชน ยื่นที่ห้องบัตร รับบัตรคิว

4. นำใบคัดกรองติดต่อพยาบาลที่หน้าห้องตรวจ

5. รอรับการตรวจตามลำดับบัตรคิว หน้าห้องตรวจ

 

ผู้ป่วยเก่า

1. ติดต่อพยาบาลคัดกรองและรับใบคัดกรองเพื่อแยกประเภทผู้ป่วย

2. นำบัตรประจำตัวคนไข้และใบคัดกรองยื่นที่ห้องบัตร หรือกดรับบัตรคิวที่ตู้ Kios รับบัตรคิว

3. นำใบคัดกรองติดต่อพยาบาลที่หน้าห้องตรวจ

4. รอรับการตรวจตามลำดับบัตรคิว หน้าห้องตรวจ

 

ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

1. ติดต่อพยาบาลคัดกรองเพื่อแยกประเภทผู้ป่วย

2. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม

3. รับบัตรคิว

4. รอเรียกตามลำดับบัตรคิว

5. รอรับการตรวจหน้าห้องตรวจ

กรณีฉุกเฉินจะได้รับการตรวจรักษาก่อน

 

 

คำแนะนำ

1.เพื่อประโยชน์ในการติดตามประวัติการรักษาของท่าน กรุณานำบัตรประจำตัวคนไข้ และบัตรประชาชนมาทุกครั้งที่ติดต่อกับโรงพยาบาล

2.ถ้าท่านมีบัตรเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาล เช่น บัตรประกันสุขภาพ, บัตรประกันสังคม,

บัตรผู้พิการ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่